สถิติ
เปิดเมื่อ27/01/2015
อัพเดท19/03/2015
ผู้เข้าชม36053
แสดงหน้า41602
ปฎิทิน
September 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
     




พฤติกรรมเด่นของหมีกริซลี่ (เข้าชม 29477 ครั้ง)
พฤติกรรมของหมีกริซลี่ (Behavior)
 
     โดยปกติแล้ว หมีกริซลี่เป็นหมีที่ชอบอยู่ตามลำพัง  อย่างไรก็ตามพวกมันไม่มีอาณาเขตที่แน่นอน  ในบางครั้งเราอาจพบพวกมันกินอาหารร่วมกันได้ ในกรณีที่มีอาหารเพียงพอ เช่น กินปลาแซลมอนในแม่น้ำ 
     ลูกหมีจะอยู่กับแม่หมีประมาณ 2-3 ปี จากนั้นมันก็จะออกไปใช้ชีวิตลำพัง
แม่หมีมักสร้างรังในบริเวณที่สงบ  ตัวผู้ที่มีกำลังมากมักจะมีแม่หมีอยู่ภายในอาณาเขตของมัน 
     หมีชนิดนี้จำเป็นต้องกินอาหารจำนวนมากในฤดูร้อน เพื่อเก็บอาหารไว้ใช้ในการจำศิลช่วงฤดูหนาว

 
 
 

พฤติกรรมการหาอาหาร

     หมีกริซลี่(Grizzly bear) เป็นสัตว์นักล่าที่ทรงพลังมาก มันเป็นสัตว์กินอาหารแบบ Omnivore คือกินได้ทั้งพืชและสัตว์ อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร พวกมันเป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวในการหาอาหารและการดำรงชีวิตอยู่ได้ง่าย ดังนั้นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของหมีกริซลี่จึงขึ้นอยู่กับที่อยู่ของมัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ เช่น แคนาดา อลาสกา และรัฐอเมริกาตอนบนซึ่งติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก โดยพวกมันจะหาอาหารประมาณ 6-8เดือน และเมื่อเข้าฤดูหนาวก็จะจำศีลโดยขุดโพรงตามพื้นดินหรือโพรงไม้ อาหารตามธรรมชาติที่หมีกริซลี่กินได้ เช่น

ฤดูใบไม้ผลิ (ปลายมี.ค.-พ.ค.) : หญ้า ใบโคลเวอร์ แดนดีไลอ้อน มด สัตว์ที่ตายจากฤดูหนาว

ฤดูร้อน (มิ.ย.-ส.ค.) : รากไม้ หัวพืชใต้ดิน ต้นfireweed เห็ด แมลง เช่น มอธ มด ไปจนกระทั่ง ลูกกวาง ลูกควายไบซัน

ฤดูใบไม้ร่วง (ก.ย.-ต.ค.) : เบอรี่ รากไม้ เปลือกไม้ หัวใต้ที่อุดมไปด้วยแป้ง ลูกสน ฤดูนี้หมีจะใช้เวลากินและหาอาหารทั้งวันเพื่อสะสมพลังงานไว้สำหรับฤดูหนาว โดยจะเริ่มขุดโพรงไว้ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมไปจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน

จะพบปรากฎการณ์ที่หมีชุมนุมที่แม่น้ำต่างๆในอลาสก้า และอเมริกาเหนือ เช่น Copper river ,Snake river ,Chilcat river และ Yukon river เป็นต้น เพื่อจับกินปลาแซลมอนที่ว่ายทวนน้ำเพื่อไปวางไข่(Salmon run) ได้ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนกันยายน โดยหมีกริซลี่มีหน้าที่เป็น ecosystem engineer โดยการจับและกินปลาแซลมอนซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารจากมหาสมุทรคือ ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ คาร์บอน และฟอสฟอรัส สารอาหารเหล่านี้จะย้ายจากมหาสมุทรมาที่พื้นดินผ่านการทิ้งซากปลาแซลมอน มูลของหมีกริซลี่ที่กินปลาแซลมอน อีกด้วย



รูปแสดงการกระจายตัวของปลาแซลมอน(สีเขียว)ในมหาสมุทรแปซิฟิก
 


การกระจายตัวของหมีกริซลี่โดยบริเวณสีเขียวคือบริเวณปัจจุบันที่พบเจอ


รูปแสดงขณะหมีกริซลี่กำลังจับกินปลาแซลมอน

รูปแสดงขณะหมีกริซลี่กำลังจับกินปลาแซลมอน
 

พฤติกรรมการหาคู่ผสมพันธุ์ของหมีกริซลี่ (Mating)
     
หมีกริซลี่ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียได้ถึง 1.8 เท่า ขนาดร่างกายที่ใหญ่โตของหมีกริซลี่ตัวผู้จะสร้างโอกาสหาคู่ผสมพันธุ์ให้แก่ตนเองได้ดี คือยิ่งตัวใหญ่ จะดึงดูดตัวเมียได้ดี ส่วนตัวเมียก็เช่นกัน ขนาดของร่างกายจะดึงดูดให้ตัวผู้ให้เข้ามาหา เพราะบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ในการสืบเผ่าพันธุ์


     หมีกริซลี่ผสมพันธุ์ในปลายฤดูใบไม้ผลิหรือต้นฤดูร้อน ไข่ที่ผสมแล้วจะเติบโตเกือบทันที แต่เมื่อตัวอ่อนแบ่งเซลล์จนมีลักษณะเป็นก้อนกลมกลวงขนาดเล็ก มันจะหยุดโตและลอยอยู่ในมดลูกของแม่หมีนานถึงห้าเดือน จนถึงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน ซึ่งตัวเมียเตรียมเข้าไปนอนจำศีลหลบหนาวในถ้ำ
     ถ้าหมีกริซลี่ผสมพันธุ์ในฤดูในไม้ผลิและออกลูกในฤดูร้อนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ หรือผสมพันธุ์ในฤดูใบไม้ร่วงแล้วไม่ต้องถ่วงเวลาคลอดไว้ ก็น่าจะง่ายกว่าและซับซ้อนน้อยกว่า แต่มันไม่ใช่ทำเช่นนั้นเพราะอาหารอันเหลือเฟือ ในฤดูใบไม้ร่วงมีอยู่เพียงช่วงสั้นๆ ทว่าหมีต้องกินทุกสิ่งทุกอย่างให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อสะสมไขมันไว้เพียงพอต่อการอยู่รอดในฤดูหนาว

     สำหรับแม่หมีแล้วการผสมพันธุ์และการเลี้ยงลูกอ่อนในฤดูใบไม้ร่วงจะทำให้เสียเวลากินอาหาร อันเป็นเวลาที่มีค่าไป เนื่องจากผสมพันธุ์ตั้งแต่ต้นปีและหน่วงการเติบโตและการคลอดไปจนเมื่อมันนอนจำศีลหลบหนาวในถ้ำแล้ว แม่หมีกริซลี่จึงมีเวลาเหลือเฟือเพื่อกินอาหารให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะกินได้ในฤดูใบไม้ร่วง เป็นการประกันว่ามันได้ตุนไขมันมากพอ เพื่อให้ตัวเองและลูกๆมีโอกาสรอดชีวิตผ่านฤดูหนาวอันแร้นแค้นและยาวนานนับเดือนได้อย่างปลอดภัย โดยขุดโพรงด้วยเล็บอันแหลมคมซึ่งแม่หมีกริซลี่ให้ลูกครอกละ 1 - 3 ตัว